วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

การสอนภาษาไทยสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ


ข้าพเจ้าค้นบทความเพื่อการศึกษาและได้ค้นเจอกับบทความนี้เข้าซึ่งน่าจะมีประโยชน์สำหรับคนหลายๆคนนะจ้ะเพราะแค่ดูชื่อเรื่องมันก็น่าสนใจดีจึงได้คัดบทความของ อนงค์ เชื้อนนท์ มาให้ดูกันจ้า ในบทความเขียนไว้ว่า

คนส่วนใหญ่คิดว่า การสอนภาษาไทยสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่โดยแท้จริงแล้วการนำภาษาไทยมาวิเคราะห์สังเคราะห์และสอนภาษาไทยแบบง่าย ๆ สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ
เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่ควรเริ่มสอนด้วยการให้ผู้เรียนหัดเขียน ก ข ค
ก่อน เพราะผู้เรียนจะเริ่มเรียนสิ่งที่ยากก่อน ควรเริ่มจากสอนจากเรื่องง่าย ๆ ก่อน
วิธีสอน 5 ขั้นตอน
1. เริ่มสอนการฟังก่อน ถ้าเป็นเด็กควรเริ่มหัดฟังสิ่งต่าง ๆจากง่าย ๆ รอบตัวก่อน เช่น เสียงไก่ขัน เสียงนกร้อง เสียงน้ำตก เสียงรถยนต์ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ควรเริ่มฟังเป็นคำ ๆ ประกอบท่าทาง
ครูออกเสียงคำให้ฟัง
การแสดงท่าทางประกอบ
ชี้รูปภาพ หรือของจริง
การแนะนำคำต่าง ๆ พร้อมท่าทางประกอบควรพูดแนะนำ 3-5 ครั้ง ให้ผู้เรียนจดจำได้ อย่ารีบร้อนให้ผู้เรียนพูด ครูควรแน่ใจว่าผู้เรียนสามารถฟังได้ดี เรียกว่า หูกระดิก ฟังจนจับใจความเสียงที่ครูเปล่งชัดเจนดีแล้ว จึงเริ่มสอนขั้นตอนต่อไป
ควรสอนการฟังสอดแทรกวันละ 15-20 นาที และควรสอนคำวันแรกไม่เกิน 10 คำ (เช้า 5 คำ บ่าย 5 คำ) วันหนึ่งถ้าสอนมากไปจะจำไม่ได้เลยเพราะสับสน วันที่สองและวันต่อ ๆ มา ก็เพิ่มศัพท์ขึ้นเรื่อย วันแรก 10 คำ วันที่สอง 10 คำใหม่ (บวก 10 คำวันแรก สอนทบทวน) เพราะฉะนั้นวันที่สองจะได้รู้คำศัพท์ 20 คำ วันที่สามและสี่เพิ่มคำศัพท์ขึ้นเรื่อย ๆ จนครอบคลุมวงคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน(สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ ควรสอนประมาณ 600 คำ)
2. ฝึกสอนการพูด ให้ฝึกสอนพูดจากสิ่งใกล้ตัวผู้เรียนก่อน ได้แก่คำทักทาย สวัสดี
ขอโทษ ขอบคุณครับ(ค่ะ)
ต่อมาให้รู้จักพูดชื่อครูและชื่อตนเอง พูดเกี่ยวกับอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น หน้า ผม ตา จมูก มือ เท้า แขน ขา และอิริยาบถต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน วิ่ง ต่อมาให้ผู้เรียนสามารถ เรียกชื่อวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงเรียน เช่น สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด หน้าต่าง ประตู โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ กระดาษ ฝึกสอนพูดเป็นคำก่อน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจับคู่คำที่พูดและภาพได้
3. ฝึกอ่าน อาจฝึกอ่านได้หลายวิธี แล้วแต่ความพร้อมของผู้เรียน ครูบางคนอาจฝึกอ่านจากตัวอักษร เริ่มจาก ก ไปจนถึง ฮ แต่ให้สอนอ่านวันละ 5-10 ตัว พอครบ 4 วัน สอนเสร็จหมด 44 ตัวอักษร วันที่ 5 ก็ให้ทบทวนตัวอักษรทั้งหมด โดยชี้แบบไม่เรียงตัว แต่ถ้าจะให้สนุกต้องร้องเพลงประกอบจะทำให้จำได้ดี
4. ฝึกเขียน
เริ่มตั้งแต่ฝึกเขียนพยัญชนะ ก ถึง ฮ ซึ่งวิธีนี้มักนิยมกันอย่างแพร่หลาย หรืออาจลองฝึกหัดเขียนโดยเน้นเขียนตัวที่ฝึกง่ายก่อนก็ได้ หรือตัวที่เขียนคล้าย ๆ กันก่อน เพราะฝึกเขียนง่ายและเป็นรูปแบบใกล้เคียงกัน


5. ฝึกคิดและวิเคราะห์ ครูอธิบายตัวอักษรแต่ละตัวจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ไม่ได้ท่องจำเท่านั้น แต่ครูจะต้องทราบพื้นฐานของผู้เรียนว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์(กลุ่มกะเหรี่ยง)ที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแรก บางคนพูดภาษาแม่ก่อน จึงมาเรียนมาไทยทำให้ต้องมีวิธีการเรียนภาษาไทยที่แตกต่างจากผู้เรียนที่พูดภาษาไทยตั้งแต่เกิด
นอกเหนือจากวิธีสอน 5 ขั้นตอนแล้ว ครูสอนภาษาไทยสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์จะต้องมีความเป็นกันเองทำให้ผู้เรียนไว้วางใจ มีความตั้งใจ และความเอาใจใส่เป็นพิเศษ สิ่งสำคัญครูต้องรักภาษาไทยและรักษาการสอนภาษาไทยเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อนั้นแหละ การสอนภาษาไทยสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

หากท่านคนไหนสนใจบทความนี้อย่างละเอียดท่านเข้าไปดูในเว็บข้างล่างนี้ได้เลยจ้า

หมายเหตุ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก
http://www.oknation.net/blog/anong

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

เที่ยวชะอำ


วันแรกที่เราไปถึงชะอำคือเราได้ไปเที่ยวป่าชายเลนเราได้ความรู้มากมายเลยลองมาดูซิว่าป่าชายเลนบ้านเรามีอะไนดีบ้าง


การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ป่าชายเลนกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากพื้นที่ป่าจำนวนมากถูกทำลายจนหมดสภาพ และพื้นที่ที่เหลือได้รับผลกระทบจนเสื่อมสภาพไปเป็นจำนวนไม่น้อย จนเหลือเนื้อที่ลดน้อยลงทุกปี แม้ว่ารัฐบาล จะได้ให้ความสำคัญโดยการออกมาตรการต่างๆ ให้กรมป่าไม้และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรับดำเนินการ เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกทำลานป่าและเร่งรัดการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลน แต่ก็เพียงมีผลให้เนื้อที่ป่าชายเลนลดลงแต่ละปีน้อยกว่าเดิมเท่านั้น
แนวทางการจัดการป่าชายเลนแบบยั่งยืน
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรมป่าไม้เป็นหน่วยงานหลักได้ดำเนินการ เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนมาโดยตลอด และได้ดำเนินการตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดขึ้นในระดับชาติ ซึ่งบางกรณีเป็นมาตรการรีบด่วนที่ระดมกำลังจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้าไป ให้การสนับสนุนและร่วมดำเนินการด้วย แต่ผลการดำเนินงานยังไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้อง อยู่ตลอดเวลา และหากสถานการณ์ยังคงเป็นอยู่ใน
ลักษณะนี้ รัฐอาจไม่สามารถรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้อย่างน้อย 1 ล้านไร่ ในปี พ.ศ. 2544ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544)แนวทางที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการ เพื่อรักษาพื้นที่ป่าชายเลนให้คงไว้ได้ตามเป้าหมาย และสามารถอำนวยประโยชน์ได้ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืนดังนี้


เร่งรัดพัฒนา และส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่น ในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ด้วยวิธีการให้ความรู้ ความ เข้าใจ ที่จะก่อให้เกิดจิตสำนึกและเห็นความจำเป็นในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน โดยรัฐควรให้สิทธิและความมั่นคงรวมทั้งสิ่งจูงใจ ในประโยชน์ที่ประชาชนเหล่านี้ จะได้รับจากการคุ้มครองป้องกันและฟื้นฟูดูแลรักษาป่าชายเลน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ และความช่วยเหลือทางด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ในการจัดการ บริหารป่าชุมชนชายเลนต่อไป
ปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการบุกรุกทำลาย ยึดถือ ครอบครอง และจับจองเพื่อการได้มาซึ่งเอกสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนโดยไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้การอนุรักษ์ และการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน สามารถดำเนินการได้ผลอย่างแท้จริง และเป็นการขจัดปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินป่าชายเลนให้หมดไป
ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนอย่างละเอียดและใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการป่าไม้ และการจัดการที่ดินป่าชายเลนให้เหมาะสมกับศักยภาพ ก่อนที่การอนุญาตทำไม้ในระบบสัมปทานระยะยาวในรอบที่ 2 จะสิ้นสุด เพื่อจะได้ดำเนินการให้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นป่าอนุรักษ์ และป่าชุมชนตามความเหมาะสม ภายใต้แผนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ส่งเสริม และสนับสนุน ให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชน โดยให้มีการขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและชนิดที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อดำรงความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าชายเลน และความหลากหลายทางชีวภาพไปด้วย
ปรับปรุงระบบการอนุรักษ์ และป้องกันรักษาป่าชายเลน ให้มีการร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น และให้มีการพัฒนาและปรับปรุงบทบาทของเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าและหน่วยจัดการป่าชายเลน จากการป้องกันปราบปราม และการควบคุมการทำไม้ มาเป็นนักส่งเสริมและพัฒนาป่าชายเลนมากขึ้น
พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนของกรมป่าไม้ ให้มีโครงสร้างที่เป็นเอกภาพ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ที่ชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างเพียงพอ มีความร่วมมือและประสานงานที่ดี
ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มบทบาท ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษาวิจัย การฝึกอบรม ตลอดจนการประชุมสัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการ อนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนแบบยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ซัมซุงลุยตลาดพรินเตอร์ หวังแชมป์เลเซอร์ต่อเนื่อง




โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
25 พฤศจิกายน 2552 17:02 น.
ซัมซุงเปิดตัวพรินเตอร์ใหม่ 7 รุ่น บุกตลาดต่อเนื่องครอบคลุมทุกกลุ่ม
เป้าหมายรองรับการพิมพ์จากอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ประกาศครองแชมป์
อันดับหนึ่ง เลเซอร์พรินเตอร์ ตั้งเป้าสิ้นปีนี้โต 30%
นายบุญเลิศ วิบูลย์เกียรติ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจไอที บริษัท ไทยซัมซุง
อิเลคโทรนิคส์ กล่าวว่า จากการวิจัยพบว่าผู้ใช้งาน พรินเตอร์ในปัจจุบัน
มีการพิมพ์ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพิ่ม มากขึ้น และมีความสำคัญเป็น
อันดับ 2 รองจากการพิมพ์เอกสารทั่วไป ซัมซุงจึงได้การคิดค้นพัฒนา
พรินเตอร์ที่รองรับความต้องการ ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคทั้งใน
ระดับองค์กร จนถึงผู้ใช้งานทั่วไป จากการวิจัยดังกล่าวซัมซุงจึงได้เปิด
ตัวพรินเตอร์ใหม่ล่าสุด 7 รุ่น ตามแนวคิด See it, Print it
ประกอบด้วย เลเซอร์พรินเตอร์ขาวดำ ML-1915
และ ML-2525 มีฟังก์ชันให้เลือกใช้งานหลากหลายตั้งแต่การ
ใช้งานภายในบ้านและสำนักงานขนาดเล็ก ML-2580N เลเซอร์
พรินเตอร์ขาวดำ ความเร็วในการพิมพ์ 24 แผ่นต่อนาที มัลติฟังก์ชัน
เลเซอร์พรินเตอร์ขาวดำ SCX-4600 และ SCX-4623F
มัลติฟังก์ชันเลเซอร์พรินเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในกลุ่มเลเซอร์พรินเตอร์
CLP-620ND และ CLP-670ND เลเซอร์พรินเตอร์สีที่มี
ความเร็วถึง 20 แผ่นต่อ และ 24 แผ่นต่อนาที สำหรับธุกิจขนาดเล็กถึง
กลาง พรินเตอร์ที่ซัมซุงนำออกสู่ตลาดครั้งนี้มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น
ผสานกับดีไซน์การออกแบบที่พิถีพิถัน พร้อมประสิทธิภาพการใช้งาน
เหนือระดับ จากผลการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคแสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในโลกของการ
พิมพ์งาน ซึ่งการพิมพ์ข้อมูลจากหน้า Web Page ในอินเทอร์เน็ตถือ
เป็นการใช้งานการพิมพ์ที่มีความสำคัญรองจากการพิมพ์งานเอกสารทั่วไป
ซัมซุงจึงได้พัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องและตอบสนองกับความต้องการ
การใช้งานของผู้บริโภคทุกกลุ่ม ด้วยฟังก์ชัน
One-Touch Print Screen ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย
ให้กับแนวโน้มการใช้งานปัจจุบัน จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
อย่างต่อเนื่อง ทำให้ซัมซุงประสบความสำเร็จ ด้วยการขึ้นครองส่วนแบ่ง
ทางการตลาดอันดับหนึ่งในตลาดรวมเลเซอร์พรินเตอร์ที่ 29% จึงเป็น
เครื่องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า พรินเตอร์ซัมซุงได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและการออกแบบที่สามารถตอบสนองทุกความ
ต้องการ ในการใช้งานของผู้บริโภคตั้งแต่ผู้ใช้งานตามบ้านจนถึงกลุ่มธุรกิจ
ขนาดต่างๆ และ ภายในสิ้นปีนี้ ซัมซุงตั้งเป้าการเติบโตของธุรกิจพรินเตอร์
ไว้ที่ 30% พร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งในตลาดเลเซอร์พริน
เตอร์ทั้งกลุ่มเลเซอร์มัลติฟังก์ชันสีและขาวดำ
Company Related Links : Samsung